วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาพยนต์



ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิล์มชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง
เทคโนโลยีภาพยนตร์
ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ปัจจุบัน ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำคือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
ในยุคต่อมามีการพัฒนาภาพยนตร์สามมิติ โดยให้ผู้ชมสวมใส่แว่นตาพิเศษเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม โดยภาพที่เห็นมีมิติความลึกสมจริง ในปี พ.ศ. 2495 ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Bwana Evil เป็นภาพยนตร์สามมิติเรื่องแรกและล่าสุดในปี 2010 "อวตาร" เป็นภาพยนตร์ที่มีคนเข้าชมในระบบ 3 มิติเป็นจำนวนมาก
ประวัติ
ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาทีต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย
ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น vcd และ dvd เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
พัฒนาการของภาพยนตร์
- พ.ศ. 2438 ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก "Arrival of a Train at La Ciotat" ออกฉายที่กรุงปารีส มีความยาว 50 วินาที
- พ.ศ. 2439 ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลก "The Devil's Castle" ออกฉาย
- พ.ศ. 2439 ฉาก Love Scene ฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "The Kiss" มีฉากจูบกันอย่างดูดดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วินาที จากความยาวของภาพยนตร์ 47 วินาที
- พ.ศ. 2440 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติสยามครั้งแรกถูกถ่ายทำขึ้น คือภาพยนตร์สั้นของการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2444 ภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องแรกของโลก "Fire!" ออกฉาย
- พ.ศ. 2445 ภาพยนตร์แนวไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์ Science Fiction) เรื่องแรกของโลก "A Trip to the Moon" ออกฉายก่อนการไปเยือนดวงจันทร์จริง 67 ปี
- พ.ศ. 2448 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสัตว์เป็นสุนัขร่วมแสดง "Rescued by Rover" ออกฉาย ใช้ทุนเพียง 37.40 ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนต่ำที่สุด และ Guiness Book บันทึกไว้
- พ.ศ. 2449 ภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "The Story of the Kelly Gang" ออกฉายด้วยความยาว 70 นาที
- พ.ศ. 2449 การ์ตูนเรื่องแรกของโลก "Humorous Phases of Funny Faces" ออกฉายที่อเมริกาความยาว 3 นาที
- พ.ศ. 2457 ภาพยนตร์ตลกเรื่องแรกของโลก "Tillie's Punctured Romance" ออกฉาย รับบทโดย ชาร์ลี แชปลิน
- พ.ศ. 2458 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยาวกว่า 100 นาที เรื่องแรกของโลก "The Birth of a Nation" ออกฉาย และเป็นเรื่องแรกที่ได้ฉายในทำเนียบขาว
- พ.ศ. 2459 ฉากเปลือยฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง A Daughter of the Gods ถ่ายทำที่น้ำตก โดย Annette Kellerman คือสาวใจกล้าที่เปลือยเต็มตัวในภาพยนตร์
- พ.ศ. 2460 การ์ตูนยาวเรื่องแรกของโลก "El Apostol" ออกฉาย
- พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก "นางสาวสุวรรณ" ออกฉาย
  - พ.ศ. 2468 เริ่มมีการฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก คือเรื่อง "The Lost World"
- พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลก "The Jazz Singer" และภาพยนตร์ไทย ทำโดยคนไทยเรื่องแรก "โชคสองชั้น" ออกฉาย
- พ.ศ. 2471 ภาพยนตร์การ์ตูนมีเสียงเรื่องแรกออกฉาย คือ มิกกี้ เมาส์ Steamboat Willie
- พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์เสียงของไทยเรื่องแรก "หลงทาง" ออกฉาย
- พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์สีเรื่องแรกของไทย "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"
- พ.ศ. 2480 การ์ตูนสีเรื่องแรกของโลก "สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด" ออกฉาย
- พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์ที่มีคนแสดงร่วมกับตัวการ์ตูนเรื่องแรก "Anchors Aweigh" ออกฉาย
- พ.ศ. 2498 การ์ตูนไทยเรื่องแรก "เหตุมหัศจรรย์" ออกฉาย
- พ.ศ. 2499 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายภาพใต้ท้องทะเล "The Silent World" ออกฉาย
- พ.ศ. 2538 การ์ตูนที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนเรื่องแรก "ทอย สตอรี่" ออกฉาย
ภาพยนตร์สั้น
โดยทั่วไปหมายถึงภาพยนตร์ที่มีความยาวระหว่าง 20-40 นาที

ยุคเริ่มต้น

ภาพยนตร์เรื่องนางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด
ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง
พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทยภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร
ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก (2470 - 2489)
บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศลตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น
ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม


เข้ามาฉายในกรุงเทพ

จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย
ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง'
ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ และยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง 'บริษัทไทยฟิล์ม'
ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง)
ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน ด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย
ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม
ในช่วงสงคราม ผู้สร้างหนังหลายรายสามารถสร้างหนังออกมาได้เรื่อย ๆ การสร้างหนังไปหยุดชะงักลงอย่างถาวรก็ในช่วงปลาย ๆ สงคราม ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลานั้น กรุงเทพถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ โรงหนังหลายโรงจึงต้องปิดกิจการชั่วคราว
ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)

ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ 'มิตร-เพชรา
ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย
การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความจริงเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ
ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิชอมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย 'มิตร-เพชรา'
ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ
ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)
ในภาวะที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529 มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม

ภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์ และภิญโญ ทองเจือ
เมื่อ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 และส่งผลให้หนัง 16 มม. ถึงจุดจบตามไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างหนังไทยกำลังเปลี่ยนทั้งระบบ จากการสร้างภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์สด ไปเป็นการสร้างภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม อันเป็นผลจากการตั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล ในช่วงนั้นได้มีผู้กำกับหัวก้าวหน้าอย่างเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่สร้าง โทน ด้วยระบบ 35 มม. แม้ว่าเนื้อหาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ทว่าแฝงแรงบันดาลใจให้คนหลายคน โดยเฉพาะ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16
ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าแตะต้องในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู
ในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน เมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม อย่างเช่น เทวดาเดินดิน เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนงที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมืองของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา
ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้สร้างหนังไทยได้รับความคึกคักขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีการผลิตหนังไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง
ปี พ.ศ. 2521-2523 หนังสะท้อนสังคมโดยกลุ่มผู้สร้างที่เป็นคลื่นลูกใหม่ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างมากมาย อาทิ ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ ในจำนวนนี้ ครูบ้านนอก ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด แม้กลุ่มนักแสดงจะเป็นคนหน้าใหม่แทบทั้งสิ้น
ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ (2530 - 2539)

ภาพยนตร์เรื่องบ้านผีปอบ
ในช่วงต้นทศวรรษ วัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของคนทำหนังไทยตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2531-2532 หลังความสำเร็จของ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อยปลื้ม ,ฉลุยและบุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531) เรื่องหลังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับรุ่นเดียวกับยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 บัณฑิตทำหนังชุดบุญชูถึง 6 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2534 ไทเอนเตอร์เทนเมนท์ ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้
นอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็ก ๆ หนังที่โดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุดบ้านผีปอบ ซึ่งสร้างติดต่อกันมากว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด
ในช่วงปลายทศวรรษ คนทำหนังไทยได้ปรับปรุงคุณภาพของงานสร้าง จนกระทั่งหนังไทยชั้นดีมีรูปลักษณ์ไม่ห่างจากหนังระดับมาตรฐานของฮ่องกง หรือ ฮอลลีวูดแต่จำนวนการสร้างหนังก็ลดลง จากที่เคยออกฉายมากกว่า 100 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2533 ลดลงเหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 ทางด้านรายได้ จากเพดานรายได้ จากระดับ 20-30 ล้านบาท (ต่อเรื่อง) ในระหว่างปี 2531-2534 สู่ระดับ 50- 70 ล้านบาท ในระหว่างปี 2537-2540 แต่ยังห่างจากความสำเร็จของหนังฮอลลีวูดที่พุ่งผ่าน 100 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539
การเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ไทยนั้น มีผลจากการเติบโตของตลาดวิดีโอ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบโรงหนังในกรุงเทพฯ สู่ระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โรงหนังขนาดย่อยในห้างที่มีระบบเสียงและระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ นอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ
ประเภทภาพยนตร์ไทย
ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

2499 อันธพาลครองเมือง
เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทย
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค
แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิส ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ, สุริโยไทจัน ดารา, บางระจันขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็กฟ้าทะลายโจรบางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลา สงครามประชาชน และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน...กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้
ต่อสู้
ภาพยนตร์แนวต่อสู้หรือ แอคชั่น เป็นภาพยนตร์แนวที่โดดเด่นที่สุดแนวหนึ่งในบรรดาภาพยนตร์ไทย เมื่อมิตร ชัยบัญชาและสมบัติ เมทะนีได้แสดงเป็นพระเอกในภาพยนตร์แนวนี้อยู่หลายร้อยเรื่อง ในปัจจุบัน มีนักแสดงภาพยนตร์แอคชั่นอย่าง ทัชชกร ยีรัมย์ โด่งดังถึงขนาดถูกยกเปรียบเทียบกับนักแสดงภาพยนตร์แอคชั่นระดับโลก เช่น บรู๊ซ ลีและ เฉินหลงจากบทบาทความความสำเร็จใน องค์บากมาสู่ ต้มยำกุ้งการแสดงของทัชชกร ไม่ใช้สลิง และไม่ใช้ตัวแสดงแทน ภาพยนตร์ของทัชชกร ได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์ต่างประเทศ ขณะเดียวกัน เกิดมาลุย ภาพยนตร์แอคชั่นในการกำกับการแสดงของ พันนา ฤทธิไกร ซึ่งการต่อสู้ได้รูปแบบมาจากกังฟู ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการการต่อสู้ระดับโลก และได้เพิ่มเอกลักษณ์ของความเป็นไทย อย่างมวยไทยลงไปด้วย
ยังมีภาพยนตร์ต่อสู้ที่สอดแทรกความตลกขบขันอย่างภาพยนตร์เรื่อง มือปืนโลก/พระ/จัน ในปี พ.ศ. 2544 กำกับโดย ยุทธเลิศ สิปปภาค ฯลฯ
ภาพยนตร์การ์ตูน
ภาพยนตร์การ์ตูนไทย เกิดขึ้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลที่ถือว่ามีบทบาทต่อวงการการ์ตูนไทย คือ ปยุต เงากระจ่าง ภาพยนตร์การ์ตูนไทยสำเร็จเรื่องแรก ชื่อ เหตุมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดสั้น ความยาว 12 นาที นำออกฉายเป็นรายการพิเศษสำหรับสื่อมวลชนและผู้ชมเฉพาะ ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 จึงได้รับการนำออกฉายสู่สาธารณชน ประกอบในรายการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง ทุรบุรุษทุย ต่อมา ปยุตได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน 20 นาที อีก 2 เรื่อง ได้แก่หนุมานเผชิญภัย (ครั้งใหม่) (2500) ของสำนักข่าวสารอเมริกัน และ เด็กกับหมี (2503) ขององค์การ สปอ. และภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาว เรื่องแรกของประเทศไทย เรื่อง "สุดสาคร" ใช้เวลาการทำงานร่วม 2 ปี สุดสาครภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดยาวเรื่องแรกฉาย ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2522
ในปี พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ใช้ทุนสร้างกว่า 150 ล้านบาท โดยการจับมือของสองบริษัทใหญ่ คือ บริษัท สหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท กันตนาแอนนิเมชั่น จำกัด ก้านกล้วย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติ (3D) โดยทีมงาน คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ซึ่งเคยสร้างผลงานในการ์ตูนแอนิเมชั่นชื่อดังของ วอลต์ ดิสนีย์ และ บลูสกาย สตูดิโอ อย่าง Tarzan, Ice Age และ Atlantis ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 98 ล้านบาท
ตลก
ไม่ว่าภาพยนตร์ประเภทไหนของหนังไทย ไม่ว่าจะเป็น แอคชั่น สยองขวัญ หรือหนังรัก ก็จะสอดแทรกความตลกเป็นส่วนประกอบด้วย
หนังตลกในอดีตที่โด่งดัง เช่นเรื่อง เงิน เงิน เงิน ในปี พ.ศ. 2508 พระเอกนางเอกมิตร-เพชราเรียกแฟนถล่มทลาย ทำรายได้มากเป็นประวัติการณ์ ส่วนดาราตลกที่มีชื่อเสียง อย่าง ล้อต๊อก ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง” 2 เรื่อง คือ จากเรื่อง โกฮับ และเรื่อง หลวงตา นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำจากเรื่อง เงิน เงิน เงิน
ภาพยนตร์เรื่องราวที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตนักศึกษา นักเรียนที่มีเนื้อหาสนุกสนาน เฮฮา ก็ได้รับความนิยม อย่างภาพยนตร์เรื่องบุญชู หรือ กลิ่นสีและกาวแป้ง สร้างขึ้นในปี 2531 ส่วนหนังตลกในปัจจุบันมีมากมายและสามารถทำรายได้ดี ไม่ว่าจะเป็น มือปืนโลก/ พระ/ จันหลวงพี่เท่งสตรีเหล็กบอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม และพยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า เป็นต้น
อิงประวัติศาสตร์

สุริโยไท
เป็นอีกประเภทของภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท ภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างสูงถึง 400 ล้านบาท สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างภาพยนตร์ไทย ใช้เวลาการถ่ายทำ 2 ปี เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ที่เสนอเรื่องราวของประเทศไทยสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 2069 – 2092
ภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน เรื่องราวเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2308  หมู่บ้านบางระจัน กำกับภาพยนตร์โดย ธนิตย์ จิตนุกูล ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้สูงสุดในปี พ.ศ. 2543
โหมโรง เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบัลดาลใจจาก หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ท่านเป็นบรมครูทางด้านดนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 8 โดยตัวละครจะดำเนินเรื่องในยุคสมัยรัชกาลที่ 8
อีกภาพยนตร์ทุนสร้างสูงของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล คือ ภาพยนตร์ไตรภาคเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใช้เวลาค้นคว้าในสถานที่จริงกว่า 6 ปี รวมการถ่ายทำอีกกว่า 3 ปี
รักร่วมเพศ
เกย์และกะเทยมักมีบทบาทในภาพยนตร์ไทยอยู่หลายครั้ง และได้พัฒนามาเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2529 ภาพยนตร์เรื่อง ฉันผู้ชายนะยะ ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากละครเวทีของ อาจารย์เสรี วงศ์มณฑา สะท้อนถึงกาลเวลาที่สังคมไทยยอมรับการเปิดเผยเรื่องลักเพศอย่างตรงไปตรงมา เป็นภาพยนตร์ชีวิต และภาพยนตร์ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ประเภทนี้ คือ เพลงสุดท้าย โดยผู้กำกับ พิศาล อัครเศรณี ภาคที่ 1 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2528 และปี พ.ศ. 2529 ตามลำดับ เป็นภาพยนตร์ที่ได้นำเรื่องราวของสาวประเภทสองคณะโชว์คาบาเร่ต์ เมืองพัทยามาสร้างเป็นภาพยนตร์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ก็ถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้ง
จนกระทั่งปี 2543 ภาพยนตร์โดยผู้กำกับ ยงยุทธ ทองกองทุน เรื่องสตรีเหล็ก ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงของทีมวอลเลย์บอลชาย จากลำปาง ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จด้วยรายได้ 98.7 ล้านบาท และได้สร้างภาคต่อในภาคสองก็ทำรายได้อีก 71.2 ล้านบาท
สตรีเหล็กได้นำทางให้กับหนังประเภทนี้ตามกันมาอย่าง พรางชมพู กะเทยประจัญบานปล้นนะยะว้ายบึ้ม เชียร์กระหึ่มโลกบิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์Go Six: โกหก ปลิ้นปล้อน กระล่อน ตอแหลหอแต๋วแตก เป็นต้น
สยองขวัญ
บ้านผีปอบ ภาพยนตร์ที่ถูกสร้างภาคต่อเกือบ 20 เรื่องแล้ว และยังมีในชื่ออื่น ๆ ซึ่งเนื้อหาคล้ายกันอีกเกือบ 10 เรื่อง ในปี 2542 ภาพยนตร์เรื่อง นางนาก ของ นนทรีย์ นิมิบุตร ทำรายได้ 120 ล้านบาท และได้สร้างกระแสให้กับหนังประเภทนี้ ซึ่งต่อมาได้ก่อให้เกิดหนังประเภทนี้ตามมาอีกมากมาย เฉพาะในปี 2549 มีภาพยนตร์ประเภทนี้ถึง 14 เรื่อง จาก 42 เรื่องของทั้งปี
มีภาพยนตร์สยองขวัญหลายเรื่องที่สอดแทรกความตลก ขำขันไว้ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง บุปผาราตรี โดยยุทธเลิศ สิปปภาค ที่ออกฉายในเทศกาลหนังนานาชาติที่โทรอนโต และภาพยนตร์เรื่อง กระสือวาเลนไทน์ เป็นต้น
ภาพยนตร์เพลง

มนต์รักทรานซิสเตอร์
ปี พ.ศ. 2513 ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ของ "ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์" ที่นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฎร์ เป็นภาพยนตร์เพลงลูกทุ่งที่สมบูรณ์ และโด่งดังมากในสมัยนั้น ร่วมเพลงลูกทุ่งถึง 14 เพลง เช่น เพลง มนต์รักลูกทุ่ง, รักร้าวน้องช้ำ, เฒ่าร้อยใจ, สิบหมื่น โดยมีนักร้องลูกทุ่งร่วมแสดงหลายคนด้วยกัน อาทิไพรวัลย์ ลูกเพชรบรรจบ เจริญพรศรีไพร ใจพระ และบุปผา สายชล และศรไพร เพชรดำเนิน ภาพยนตร์ทำรายได้ 6 ล้านกว่าบาทในสมัยนั้น และยังยืนโรงฉายได้นานกว่า 6 เดือน
ภาพยนตร์ของดอกดินในปี พ.ศ. 2514 เรื่องไอ้ทุย นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี และ เพชรา เชาวราษฏร์ ก็เป็นภาพยนตร์เพลงจากกระแสเพลงลูกทุ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ในปี 2544 ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง เป็นภาพยนตร์เพลงที่ไปคว้ารางวัลเทรดวินส์ อวอร์ดจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซีแอตเติล ครั้งที่ 28  ประเทศสหรัฐอเมริกา ปีถัดมา ก็ได้มีภาพยนตร์ทำนองนี้ในเรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (พ.ศ. 2545)
ภาพยนตร์ชีวิต
ในปี 2520 ภาพยนตร์ที่ได้สร้างความซาบซึ้งตรึงใจให้กับผู้ชม ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ของ เชิด ทรงศรี ที่สร้างขึ้นจากบทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างสถิติทางด้านรายได้ ยอดคนดู ระยะเวลาที่ยืนโรงฉาย ฯลฯ ด้วยสโลแกนที่วางคู่มากับตัวหนังว่า 'เราจักสำแดงความเป็นไทยต่อโลก' และยังได้รับรางวัลจากต่างประเทศอีกด้วย
พ.ศ. 2522 บ้านทรายทอง ภาพยนตร์ที่สร้างจากวรรณกรรมจากปลายปากกาของ ก.สุรางคนางค์ เป็นเรื่องราวของ "พจมาน" เด็กสาวผู้มีความหยิ่งในศักดิ์ศรีและชาติกำเนิดของตน แม้จะเป็นเพียงสามัญชนคนธรรมดาก็ตาม ได้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวหม่อมพรรณราย วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อยู่หลายครั้ง และเมื่อออกฉายในปี พ.ศ. 2522 นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์ ก็สามารถทำรายได้ประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับค่าเงินในสมัยนี้ก็คงอยู่ราว ๆ 200 ล้านบาท
พ.ศ. 2546 ภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน เป็นภาพยนตร์ที่เล่าถึงความทรงจำในวัยเด็กของตัวละครเอก ได้สร้างความประทับใจให้กับกลุ่มคนดูทุกรุ่น ตั้งแต่เด็กไปจนถึงกลุ่มคนวัยทำงาน และผู้ใหญ่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ด้วยสถิติ 137 ล้านบาท จาก งบการสร้าง 30 ล้าน
ภาพยนตร์ชีวิตเรื่อง รักแห่งสยาม ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2550 กำกับโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง เป็นหนังรักหลายรูปแบบที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวที่มีปัญหาหนัก ซึ่งหนังเรื่องนี้หลังออกฉายได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งตามเว็บบอร์ด รวมถึงกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงทั้งแง่บวกและแง่ลบ
วัยรุ่น
ภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จ คือ ภาพยนตร์เรื่อง วัยอลวน ที่สร้างในปี พ.ศ. 2519 ของผู้กำกับภาพยนตร์เปี๊ยก โปสเตอร์ นำแสดงโดยไพโรจน์ สังวริบุตร และ ลลนา สุลาวัลย์ ทำรายได้ร่วม ทำเงินมากมาย 6-7 ล้านบาท และสร้างภาคต่อ ภาค 2 (รักอุตลุด) และภาค 3 (ชื่นชุลมุน) และ ภาคที่ 4 (ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น) ในปี 2548
กลางปี พ.ศ. 2534 กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ผลงานกำกับภาพยนตร์ของ คิง-สมจริง ศรีสุภาพ นำแสดงโดย มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ และ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง เป็นภาพยนตร์วัยรุ่นที่โด่งดังมาก สร้างสถิติภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงที่สุดในประวัติศาตร์ในเวลานั้น โดยเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำรายได้เกิน 25 ล้านบาท และยังเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของ มอส ปฏิภาณ และ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ซึ่งแจ้งเกิดพวกเขาในวงการบันเทิง และปลุกกระแสภาพยนตร์วัยรุ่นให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง
ในระยะปี พ.ศ. 2535 ภาพยนตร์ไทยประเภทวัยรุ่น ได้รับการต้อนรับจากแฟนภาพยนตร์วัยรุ่น ทำให้เกิดกระแสผลิตภาพยนตร์วัยรุ่นต่อเนื่องกันอยู่หลายปี ผู้ชมภาพยนตร์ไทยมีแต่เด็กวัยรุ่นระดับนักเรียน เช่น โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋ รองต๊ะแล่บแปล๊บ สะแด่วแห้ว เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์เรื่อง Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นภาพยนตร์วัยรุ่น กำกับโดย นิธิวัฒน์ ธราธร มีกระแสตอบรับที่ดี ทั้งรายได้และรางวัล โดยกวาดรายได้ไปประมาณ 70 ล้านบาท และอีก รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี รวมถึงสาขารางวัล
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
วิทยาศาสตร์

2022 สึนามิ วันโลกสังหาร
ภาพยนตร์ไทยในแนววิทยาศาสตร์หรือที่นิยมเรียกว่าไซไฟนั้น เมื่อเทียบกับในแนวอื่น ๆ นั้นจัดว่ามีอยู่ไม่มากนัก สำหรับแรกเรื่อง ๆ ของภาพยนตร์ไทยที่นับได้ว่าอยู่ในแนวนี้ ได้แก่ มันมากับความมืด ในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และเป็นบทบาทการแสดงนำครั้งแรกของ สรพงษ์ ชาตรี นักแสดงคู่บารมีของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ที่ภายหลังได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2551 ด้วย
สำหรับเรื่องอื่น ๆ ในแนววิทยาศาสตร์ ก็ได้แก่ กาเหว่าที่บางเพลง ในปี พ.ศ. 2538 ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชโคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน ในปีพ.ศ. 2542ปักษาวายุสุริยะฆาต และ อมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2547
ในปี พ.ศ. 2552 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร จากการอำนวยการสร้างและกำกับของ ทรนง ศรีเชื้อ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่ถล่มกรุงเทพมหานครในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งได้เงินทุนสร้างถึง 160 ล้านบาท แต่ทว่าเมื่อเข้าฉายแล้วไม่ประสบความสำเร็จเลยทั้งทางรายได้ โดยทำรายได้ไปเพียงแค่ 3.7 ล้านบาทเท่านั้น และคำวิจารณ์ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทางลบแทบทั้งสิ้น
ฟิล์มนัวร์
ภาพยนตร์ในแบบฟิล์มนัวร์ คือ ภาพยนตร์ที่มีการจัดแสงในโทนต่ำ เนื้อหากล่าวถึงอาชญากรรมและสะท้อนถึงด้านมืดในตัวมนุษย์ โดยมากแล้วจะมีในภาพยนตร์ต่างประเทศ แต่สำหรับภาพยนตร์ไทยแล้ว มีภาพยนตร์ประเภทนี้น้อยมาก โดยเรื่องแรกที่อาจเรียกได้ว่ามีลักษณะของฟิล์มนัวร์ได้ คือ กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อนในปี พ.ศ. 2534 จากการกำกับของ มานพ อุดมเดช ซึ่งถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ของวงการภาพยนตร์ไทย แม้จะไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้ จากนั้นจึงทิ้งช่วงไปหลายปี จึงมี ดอกไม้ในทางปืน ในปี พ.ศ. 2542 จากผู้กำกับคนเดียวกัน
ส่วนผลงานเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ห้องน้ำ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ซีดี จากการผลิตของ อาร์.เอส.ฟิล์มจอมขมังเวทย์ ในปี พ.ศ. 2548เฉือน ในปี พ.ศ. 2552 และ นาคปรก ในปี พ.ศ. 2553 เป็นต้น
ภาพยนตร์นอกกระแส


แสงศตวรรษ
ภาพยนตร์นอกกระแส (อินดี้) ไม่ว่าจะเป็นหนังสั้นหรือหนังยาว ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าฉายตามโรงใหญ่ในรอบฉายปรกติเหมือนภาพยนตร์ทั่วไป ด้วยเหตุที่สั้นเกินไป หรือไม่มีจุดขายเพียงพอ แต่มักถูกเรียกว่า หนังที่มีคุณค่ากว่า
ปี พ.ศ. 2527 ผลงานของ ยุทธนา มุกดาสนิท ผีเสื้อและดอกไม้ ก็คว้ารางวัลชนะเลิศในเทศกาลภาพยนตร์ที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการประกวดในระดับเอเชียแปซิฟิก
หนังนอกกระแสอย่าง สุดเสน่หา หรือ Blissfully Your ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ในปี พ.ศ. 2544 เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ รางวัล “Un Certain Regard Award” เป็นรางวัลในประเภท "น่าจับตามอง" และ ในปี พ.ศ. 2545 สัตว์ประหลาด เป็นภาพยนตร์ไทยที่ได้ รางวัลจูรีไพรซ์ ในสายการเข้าประกวดชิงรางวัลปาล์มทองคำ นับเป็นที่ 3 รองจากรางวัลสูงสุด
ในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ โดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล คว้ารางวัล 4 รางวัลจากเทศกาลหนัง ทั้งรางวัลลำดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากฮ่องกงฟิล์มอวอร์ด รางวัลภาพยนตร์ที่น่าจับตามองจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 อภิชาติพงศ์ ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้
ในส่วนของหนังสั้น มีการประกวดภาพยนตร์สั้นของมูลนิธิหนังไทยเปิดกว้างมากกว่า โดยเป็นการประกวดซึ่งเปิดโอกาสให้กับคนทั่วไปหรือนักเรียนหนังนำผลงานของตนเองส่งเข้าประกวด ไม่จำกัดหัวข้อ และรับผลงานที่เป็นวิดีโอด้วย ซึ่งทำให้ง่ายในขั้นตอนการผลิต มีอิสระทางความคิดและไม่ต้องลงทุนมาก การจัดการประกวดครั้งแรกในปีพ.ศ. 2540
จนถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสนใจจัดฉายหรือประกวดหนังสั้นขึ้นมากมาย เช่น งานส่งฝันสู่ฟิล์ม โดยนิตยสารซีนีแมก, ประกวดหนังสั้นในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ, ประกวดหัวข้อคนไทยกับสายน้ำในเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย, ประกวดหนังทดลองในเทศกาลหนังทดลองกรุงเทพ, งานซิตี้ออนเดอะมูฟ, ประกวดหัวข้อ กิน ในงานกินอ่านในย่านแพร่ง, งาน Best 2000 โดยกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น

เทศกาลภาพยนตร์

เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ (Bangkok Film Festival) เป็นเทศกาลภาพยนตร์แรกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ริเริ่มในปี พ.ศ. 2541จัดเป็นประจำทุกปี โดยรวมภาพยนตร์จากนานาชาติและภาพยนตร์ไทย และมีการประกวดภาพยนตร์ของนักทำหนังรุ่นใหม่ ส่วนเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ (Bangkok International Film Festival) เริ่มจัดเมื่อปี 2545 จุดเด่นของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพนี้ คือ มีการแจกรางวัลต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพ (The World Film Festival of Bangkok) จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยจะจัดในช่วงเดือนตุลาคม ดำเนินการโดยหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น โดยได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ

การแจกรางวัลภาพยนตร์

ในประเทศไทยได้มีการมอบรางวัลให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่าง ๆ ในแต่ละปี การจัดประกวดรางวัลเพื่อมอบให้แก่บุคคลในวงการภาพยนตร์ไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 สมาคมหอการค้ากรุงเทพ จึงได้จัดการประกวดรางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไทย โดยได้ตั้งรูปลักษณ์รางวัลไว้ 2 ประเภท คือ รางวัลสำเภาทอง มอบให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม และรางวัลตุ๊กตาทอง ต่อมามีการออกแบบรางวัลขึ้นใหม่เป็นรูปพระสุรัสวดี จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น รางวัลพระสุรัสวดี จัดได้อยู่ 8 ครั้งแล้วหยุดไป ต่อมาได้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2517 โดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2522 รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ จัดโดยสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย จุดประสงค์ก็ไม่ต่างจากรางวัลแรกอย่างพระสุรัสวดีเท่าใดนัก จนกระทั่งต้องงดจัดไปในปี 2531 หลังจากนั้น รัฐบาลได้เล็งเห็นคุณค่าของภาพยนตร์ที่มีต่อสังคมไทย และเพื่อกระตุ้นให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และมีสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติเข้ามาเป็นผู้จัดการประกวด โดยใช้ชื่อว่า "รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ" ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์"
และในปี พ.ศ. 2533 ได้เกิดรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงโดยมี นคร วีระประวัติ (บรรณาธิการฟลิกส์) เป็นประธานชมรมฯ มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือของเหล่านักวิจารณ์บันเทิงไทย โดยรางวัลพระสุรัสวดี (รางวัลตุ๊กตาทอง), รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ถือเป็นรางวัลสำคัญหลัก 3 รางวัลที่มีการจัดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัลที่ริเริ่มจัดแจกในภายหลัง โดยมากมักเป็นรางวัลที่สำนักพิมพ์-นิตยสารภาพยนตร์ต่างๆ ตั้งคณะกรรมการของตนขึ้นเพื่อพิจารณารางวัลแก่ภาพยนตร์ไทย หรือเป็นรางวัลที่เกิดจากการการออกเสียงของผู้ชมภาพยนตร์เลือกมอบรางวัลแก่ภาพยนตร์ไทยโดยมีผู้จัดงานเป็นนิตยสารภาพยนตร์หรือเว็บไซต์-เว็บบอร์ดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้แก่ สตาร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ดส์ (Star Entertainment Awards) ที่เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2545, คมชัดลึก อวอร์ด ที่เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2546, ไบโอสโคป อวอร์ด (Bioscope Awards) ที่เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2546 โดยนิตยสารไบโอสโคป, สตาร์พิคส์ อวอร์ด (Starpics Thai Film Awards) ที่เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2546 โดยนิตยสารสตาร์พิกส์, เฉลิมไทย อวอร์ด (Chalermthai Awards) ที่เริ่มจัดในปี พ.ศ. 2546 โดยการออกเสียงของสมาชิกเว็บไซต์พันทิป (www.pantip.com) ฯลฯ
และยังมีรางวัลเชิดชูเกียรติที่มอบให้กับศิลปินที่ทำงานในวงการภาพยนตร์อย่าง รางวัลศิลปาธร ในสาขาภาพยนตร์ และศิลปินแห่งชาติ ในสาขาศิลปะการแสดง
การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เกี่ยวข้องกับหน่วยงานคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ หรือ กองเซ็นเซอร์ ซึ่งได้ยึดเอาพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 เป็นบรรทัดฐาน ในมาตรา 4 ระบุไว้ชัดเจนว่า ห้ามมิให้ทำ หรือฉาย หรือแสดง ณ สถานที่มหรสพ ซึ่งภาพยนตร์หรือประกาศกอปรด้วยลักษณะฝ่าฝืน หรืออาจฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ถึงแม้เพียงว่าการทำหรือฉาย หรือการแสดงภาพยนตร์ หรือประกาศนั้น ๆ น่าจะมีผลเช่นว่านั้น ก็ห้ามดุจกัน
ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเอาแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์จากสหรัฐอเมริกาเข้ามา ก่อให้เกิดการเข้มงวดกวดขันในทุกรูปแบบ รวมทั้งในวงการภาพยนตร์ด้วย เมื่อเข้าสู่ยุคเผด็จการสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ความหวาดระแวงภัยคอมมิวนิสต์ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก ภาพยนตร์เรื่องใดที่เข้าข่ายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เช่นภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ โดยการกำกับของ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ถูกเชิญให้เข้าชี้แจงต่อจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ว่ามีเจตนาทำลายเสถียรภาพรัฐหรือไม่ อีกทั้งตลาดพรหมจารี ของสักกะ จารุจินดา, เทพธิดาโรงแรม ที่มีฉากหนึ่งจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ต่อมา เมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผ่านพ้น ประชาชนตระหนักในสิทธิเสรีภาพของตน ขณะเดียวกันสื่อภาพยนตร์ก็สนองตอบต่อบรรยากาศทางสังคมขณะนั้นด้วย โดยสะท้อนออกมาในภาพยนตร์ว่าด้วยเสรีภาพในเรื่องเซ็กซ์อย่างเต็มที่ อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง รสสวาท, ตลาดพรหมจารี และ เทพธิดาโรงแรม
การเติบโตของเทคโนโลยีสื่อขนานใหญ่และยากแก่การควบคุมขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการตรา พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พุทธศักราช 2530ที่รวมเอาสื่อวีซีดี ดีวีดี วิดีโอเกมเลเซอร์ดิสก์ และซีดีรอมไว้ด้วย ภายใต้คำแถลงของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมขณะนั้นที่ว่า แม้จะได้รับอนุญาตจากกองเซ็นเซอร์ให้สามารถเผยแพร่ได้ ก็ยังมีสิทธิ์ติดคุก หากมีผู้ร้องทุกข์จนเป็นคดีในศาล ว่า ภาพที่ปรากฏเป็นภาพลามกตามกฎหมายอาญา 287“ เป็นผลทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่อง เซ็นเซอร์ตัวเอง” (Self-censorship) ตัวอย่างเช่นในภาพยนตร์ วีซีดี ดีวีดี และโทรทัศน์ เหล่าผู้ประกอบการจำต้องร่วมเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะหวั่นทางเรื่องกฎหมาย
นอกจากการเซ็นเซอร์จะสะท้อนบรรยากาศแห่งยุคสมัยแล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรายังได้เห็นการเซ็นเซอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เป็นต้นว่า สั่งให้เปลี่ยนชื่อเรื่อง (อาจารย์ใหญ่ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ศพ) ให้ถ่ายทำบางฉากใหม่ (องคุลีมาล, หมากเตะรีเทิร์นส) ขึ้นคำเตือน (Invisible waves / ฉากสูบบุหรี่, มนุษย์เหล็กไหล / ฉากเล่นไพ่) ตัดบางฉากออกไป (สุดเสน่หา / ตัดฉากเลิฟซีนของคู่รักวัยทอง) ฯลฯ
5 มีนาคม พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาโดยรวม ภาครัฐยังคงให้อำนาจ เข้ามาควบคุมจัดการสื่อภาพยนตร์ไม่ต่างจาก พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเรียกร้องของคนในอุตสาหกรรมหนังไทย และวิพากษ์วิจารณ์ตลอดปี 2550 ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการเซ็นเซอร์จัดเรทภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในประเทศไทย และภาพยนตร์ทุกเรื่องที่จะเข้าฉายจะต้องถูกจัดเรท เพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มอายุผู้ชม 7 เรท คือ ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ชมทั่วไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ชมอายุ 13 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ,ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู และ ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรไทย โดยการกำหนดประเภทภาพยนตร์นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพยนตร์จีน
ภาพยนตร์จีน คือภาพยนตร์ที่พูดภาษาจีน แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ภาพยนตร์ฮ่องกง ภาพยนตร์ไต้หวัน และ ภาพยนตร์จีนแผ่นดินใหญ่สำหรับในประเทศไทยภาพยนตร์จีนมักหมายถึงภาพยนตร์ฮ่องกง
ภาษาจีนในภาพยนตร์จีน ส่วนใหญ่เป็น ภาษาจีนแมนดารินและภาษาจีนกวางตุ้ง
สิ่งที่ทำให้หนังทั้งสองภาษาแตกต่างกันมากที่สุด ก็คือจุดประสงค์ในการสร้าง ขณะที่หนังแมนดารินนั้น มีเป้าหมายส่วนหนึ่งในการทำเพื่อฉายวงกว้าง ทั้งตลาดทั่วทั้งเอเซีย และอาจจะไปไกลได้มากกว่านั้นอีก เพราะศักยภาพของภาษาแมนดาริน ที่เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลายในทั่วโลก ตรงกันข้ามหนังกวางตุ้งนั้นมีคนดูที่จำกัดเฉพาะอยู่ในกลุ่มผู้พูดภาษากวางตุ้ง หรือ อาจจะพูดได้ว่าเป็นหนัง ของคนฮ่องกงที่ทำเองดูเอง ก็ว่าได้ เมื่อจุดประสงค์ในการสร้างต่างกัน เงินทุน และความทะเยอทยาน ในหนังทั้งสองแบบก็ต่างกันตามไปด้วย
ประวัติ
อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงนั้นเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากผู้สร้างหนังจากจีนแผ่นดินใหญ่ พากันอพยพหนีสงครามกลางเมือง และสงครามระหว่างจีน กับญี่ปุ่น ในช่วงปี 1946 เข้าสู่ฮ่องกง จนกระทั่ง ปี 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสท์จีน ได้รับชัยชนะในการแย่งชิงอำนาจ นั้นทำให้ศูนย์กลางหนังภาษาจีนย้ายจาก เซียงไฮ้สู่ฮ่องกง
แต่หลังสงครามช่วงยุค 50 ทั้งบริษัทสร้างหนังจากทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึง นักลงทุนจากเอเซีย เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างข้ามมาลงทุนที่ฮ่องกง ภายในเวลาอันไม่นานหนังฮ่องกงกลายเป็นสินค้าที่ส่งไปทั่วโลกทั้ง เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงแทรกซึมไปสู่ชาติตะวันตก ผ่านการฉายตามไชน่าทาวน์ แห่งเมืองใหญ่ต่างๆ เช่น ในนิวยอร์ก ลอนดอน ซิดนีย์
ภาษาแมนดาลิน
ภาษจีนแมนดาริน หรือ จีนกลาง เป็นหนึ่งในภาษาพูด ที่นิยมใช้พูดกันในภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง และเป็นภาษาราชการของ ทั้งจีน ไต้หวัน รวมถึงสิงค์โปร์ ทำให้แมนดาริน กลายเป็นภาษาจีน ที่คนใช้มากที่สุด
หนังภาษาแมนดาริน ที่นิยมสร้างกันมีหลากหลายแนวทั้ง หนังงิ้ว หนังเพลงแนวมิวสิกคัล เน้น เสื้อผ้าหรูหรา และฉากเต้นรำที่ตะการตา ตามแบบหนังอเมริกัน หนังรักโรแมนติดที่ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อดัง หนังย้อนยุคงานสร้างยิ่งใหญ่อลังการ และหนังกำลังภายใน
หนังฮ่องกงที่พูดแมนดารินนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นการเสนอภาพของ ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประเพณีที่เคร่งครัด และแนวคิดทางสังคม ของความเป็น "จีน" แบบแท้ๆ โดยไม่ได้มีความเป็น "ฮ่องกง" เข้ามาเกี่ยวข้อง
ภาพยนตร์ภาษาแมนดาริน รุ่งเรืองระหว่างปี 1967 – 1972
ภาษาจีนกวางตุ้ง
ภาษากวางตุ้ง เป็นภาษาที่นิยมพูดกันในแถบภาคใต้ของจีน โดยครอบคุมประชากรถึง เกือบ 70 ล้านคน ในฮ่องกงเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้ง
หนังกวางตุ้งที่สร้างกันในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่ ก็เป็นหนังงิ้วกวางตุ้งที่เน้นเพลง และดารางิ้วชื่อดัง เพื่อตลาดในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีหนังจำพวกอิทธิฤทธิ์ อภินิหาร ที่เน้นจุดขายเรื่องเทคนิคพิเศษตื่นตาตื่นใจ มากกว่าเนื้อเรื่องในแบบภาพยนตร์กำลังภายใน และที่ลืมไม่ได้ก็คือหนังกังฟูหวงเฟยหงที่สร้างกันกว่าร้อยตอน
หนังกวางตุ้ง อีกประเภทที่นิยมสร้างกันก็คือหนังชีวิต แต่เป็นหนังชีวิตประเภทที่ มีความแตกต่างจากหนังแมนดารินอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังชีวิตภาษากวางตุ้ง นั้นมีลีลาทางเมโลดราม่าเพ้อฝันน้อยกว่า แต่มุ่งสะท้อนภาพชีวิต จิตใจของคน ฮ่องกงโดยเฉพาะ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือหนังเรื่อง The Great Devotion ของผู้กำกับ ฉูหยวน
หนังกวางตุ้งที่มีลักษณะสะท้อนสังคมยังถูกสร้างอย่างต่อเนื่อง ในยุคปลายยุค 60 เป็นหนัง muj แสดงออกถึงวิญญานอิสระของคนทำหนังฮ่องกงในขณะนั้น ที่ผู้กำกับส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของระบบสตูดิโอ ที่เข้มงวด มุ่งทำหนังเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว หนังภาษากวางตุ้งที่ทำหน้าที่สะท้อนสังคม เรื่องอื่นๆ ได้แก่ ผลงานของผู้กำกับ หลงกง (Lung Kong)
ในระหว่างปี 1967 - 1972 หนังกวางตุ้งถูกสร้างออกมาน้อยมาก

ภาพยนตร์ญึ่ปุ่น
ภาพยนตร์ญี่ปุ่น มีประวัติอันยาวนานมาร่วมร้อยปี โดยภาพยนตร์เงียบเรื่องแรกของญี่ปุ่นคือภาพยนตร์เรื่อง Bake Jizo และ Shinin no sosei ภาพยนตร์ในปี 1898 ส่วนหนังเสียงเรื่องแรกคือเรื่อง The Neighbor's Wife And Mine (1931) กำกับโดย เฮอิโนสุเกะ โกโซ และมีการเกิดขึ้นของสตูดิโอยักษ์ใหญ่ในวงการช่วงนี้คือ นิกคัตสุ, โชชิกุ และ โตโอ (ตามลำดับ) หนังในยุคทศวรรษที่ 30 ถือเป็นยุคทองของภาพยนตร์ญี่ปุ่นทีเดียว โดยมีความหลายหลาย ตั้งแต่หนังซามูไร หนังเกอิชา หนังรัก หนังตลก จนถึงหนังเพลง ถึงแม้ญี่ปุ่นจะไม่ส่งหนังออกจำหน่ายนอกประเทศเท่าไร แต่ผู้ชมภายในประเทศในช่วงยุคทศวรรษที่ 30 มีการบันทึกว่าคนดูหนังชาวญี่ปุ่นมีจำนวนมากถึง 250 ล้านคนต่อปี
หลังจากนั้นในปี 1937 ญี่ปุ่นทำสงครามอย่างเป็นทางการกับจีน ทำให้เกิดหนังโฆษณาชวนเชื่อและหนังปลุกใจรักชาติ โดยนักแสดงชื่อ โยชิโกะ ยามางุจิ ถือเป็นสัญลักษณ์ในช่วงนี้ หลังจากนั้นก็เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพสังคมบีบให้ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เน้นโฆษณาชวนเชื่อ ดาราใหญ่ๆ ก็ต้องไปเล่นหนังเนื้อหาปลุกใจประชาชน นอกจากหนังโฆษณาแล้ว รัฐยังเข้ามาแทรกแซงวงการภาพยนตร์ด้วยการเซ็นเซอร์อีกด้วย
ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในยุคทศวรรษที่ 1950 ถือเป็นยุคทองอีกช่วงหนึ่ง ในช่วงที่ญี่ปุ่นสูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นต้องการสร้างชาติกันใหม่อีกครั้ง รวมถึงวงการหนังด้วย ภาพยนตร์ในยุคนี้จะเน้นความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ การปลดแอกสตรีเพศ และการต่อต้านศักดินาและระบอบทหาร เนื้อหาในหนังจะมีตัวละครค้นหาความเป็นมนุษย์ของตนเอง ผู้หญิงถูกสำรวจและชี้ให้เห็นถึงการถูกกดขี่ทางเพศ และทางออกของพวกเธอ นอกจากนี้หนังหลายเรื่องยังพูดถึงพิษภัยจากสงครามที่มีผลกระทบต่อประชาชนตาดำๆ การดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบาก
ในปี 1951 ภาพยนตร์เรื่อง Rashomon กำกับโดย อากิระ คุโรซาวะ คว้ารางวัลสิงโตทองคำ ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิซ และรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากรางวัลออสการ์ ในยุคนี้มีผู้กำกับทั้งเก่าทั้งใหม่ อย่าง ยาสุจิโระ โอสุ, มิกิโอะ นารุเสะ, เคนจิ มิโซงุจิ, อากิระ คุโรซาวิ, คอง อิจิกาวา, มาซิกิ โคบายาชิ และ เคสุเกะ คิโนะชิตะ ทศวรรษหลังปี 1950 มีผู้เข้าชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นประจำปีมากที่สุดถึง 1.1 ล้านล้านคนในปี ค.ศ. 1958
ความนิยมแพร่หลายของโทรทัศน์ในทศวรรษที่ 1960 ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์ลดลงและความแพร่หลายของวิดีโอในทศวรรษที่ 1980 โดยจำนวนลดลงไปจนเหลือ 150 ล้าน ยอดการออกฉายในภาพยนตร์ต่างประเทศและภาพยนตร์ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1987 มีจำนวน 370 เรื่อง โดยจำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศมากกว่าภาพยนตร์ญี่ปุ่นมีสัดส่วน 2:1

ภาพยนตร์เกาหลี
ภาพยนตร์เกาหลี คือภาพยนตร์ที่พูดภาษาเกาหลี ในที่นี้รวมถึงภาพยนตร์ที่มาจากประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้ แต่ภาพยนตร์จากเกาหลีใต้สามารถตีตลาดสู่ระดับนานาชาติ ทั้งตลาดบันเทิงเอเชีย และตลาดบันเทิงยุโรป รวมไปถึงตลาดอเมริกา จนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ 10 อันดับแรกของประเทศ ปัจจุบันตลาดภาพยนตร์ของเกาหลีใต้มีมูลค่า 37,000 ล้านบาทต่อปี และหากนับรวมตลาดวิดีโอและดีวีดีแล้ว จะเป็นเงินมากถึงปีละ 62,000 ล้านบาท จากเดิมที่ภาพยนตร์เกาหลีใต้มีส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศในปี 2536 เพียงแค่ 15.9% ต่อมาในปี 2540 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 25.5%
สำหรับแนวภาพยนตร์ของเกาหลีในปัจจุบัน เฉลี่ยเป็นหนังผี (Horror) ประมาณ 10% ตลก (Comedy) 20% รักสะเทือนอารมณ์ (Melo-Drama) 30% แอคชั่น (Action) 10% และหนังหลายรสชาติ (Mix) 30%
ส่วนแนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมจากคนเกาหลี คือ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความรักและสงครามเกาหลี หรือแนวเรื่องที่เกี่ยวกับการต่อสู้ของชีวิตคนเกาหลีจริงๆ โดยภาพยนตร์ส่วนมากเกาหลี ล้วนมีเนื้อหาและการนำเสนอที่เป็นพราะภาพยนตร์ที่ถูกสร้างออกมาส่วนใหญ่เข้าถึงชีวิตจิตใจของคนดูได้อย่างแท้จริง
ประวัติ
ในสมัยที่เกาหลีเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ภาพยนตร์เกาหลีส่วนใหญ่ถูกทำลายไปในสงคราม ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ในสมัยนั้นญี่ปุ่นยังคุมเข้มเซ็นเซอร์ทั้งเนื้อหาและทุนสร้าง อิทธิพลของญี่ปุ่นยังครอบงำอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีอยู่หลายปี ถึงขนาดมีการห้ามไม่ให้คนเกาหลีสร้างภาพยนตร์ภาษาเกาหลีออกมาฉายในโรงอย่างเด็ดขาด
จนกระทั่งมีสนธิสัญญาสงบศึกปี พ.ศ. 2496 ประธานาธิบดี Rhee Syng Man ประกาศให้ยกเว้นภาษีต่างๆ ในโรงภาพยนตร์ โดยหวังจะฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลี เปิดรับความช่วยเหลือทั้งด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีเฟื่องฟูขึ้นมา โดยแนวของภาพยนตร์เน้นคือภาพยนตร์แนวสะเทือนอารมณ์ทั้งหลาย รวมทั้งภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น ซึ่งมีการหยิบเอาวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของคนเกาหลีมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์ที่กินใจคนดู
ภายหลังนายพลปาร์คจุงฮีก่อรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2504 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ก็เริ่มตกต่ำลง เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่ออกกฎระเบียบควบคุมภาพยนตร์อย่างเข้มงวด โดยห้ามมีเนื้อหาทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ส่งผลกระทบทำให้เนื้อหาภาพยนตร์เกาหลีใต้เป็นเรื่องซ้ำซาก ไม่มีเนื้อหาแปลกใหม่ที่เป็นความสนใจของประชาชน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากการแพร่ภาพโทรทัศน์และวิดีโอเทป โดยประชาชนหันมานิยมชมโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะไปชมที่โรงภาพยนตร์ ประกอบกับรัฐบาลได้เข้ามาเข้มงวดกับการตรวจพิจารณาอนุมัติการสร้างภาพยนตร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523-2535 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีจึงกลับมาดีขึ้น ประชาชนหันมาให้ความสนใจกับการชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้น
โดยในปี พ.ศ. 2531 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลี ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง คือ เมื่อหัวหน้ากองทัพ โร ตี วู ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ลดความเข้มงวดของกฎหมายในการตรวจพิจารณาอนุมัติสิ่งบันเทิงและวิทยุ และต่อมาได้มีการยกเลิกข้อกำหนดที่เข้มงวดของการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ

ภาพยนตร์เรื่อง เทกึกกี เลือดเนื้อเพื่อฝัน วันสิ้นสงคราม
ผู้สร้างภาพยนตร์เกาหลีได้พัฒนาการสร้างภาพยนตร์เพื่อให้สร้างแข่งขันกับภาพยนตร์จากต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ผู้ชมก็หันไปให้ความสนใจกับภาพยนตร์จากต่างประเทศมากขึ้น จนทำให้รัฐบาลเกาหลีที่เข้ามาแทรกแซงกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกครั้ง และครั้งนี้เองที่ส่งผลมาจนถึงตลาดรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีปัจจุบัน ที่ขยายวงกว้างออกไปยังตลาดต่างประเทศ ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่ในตลาดเกาหลีเท่านั้น
รัฐบาลเกาหลีได้กำหนดจำนวนวันเข้าฉายของภาพยนตร์เกาหลี ว่าต้องฉายอย่างน้อย 106 วันใน 1 ปี หลังจากนั้น ได้มีการกำหนดว่าในปริมาณภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงทั้งหมด ต้องมีสัดส่วน 1 ใน 4 ของจำนวนโรงที่ฉายภาพยนตร์เกาหลี และรัฐบาลยังให้เงินสนับสนุนกับผู้สร้างภาพยนตร์ปีละ 10 เรื่อง เรื่องละประมาณ 20 ล้านบาท จากการสนับสนุนตรงนี้แหละที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้ และทำให้เกิดบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่ขึ้นในเกาหลีมากกว่า 1,000 บริษัท มีภาพยนตร์เกาหลีออกสู่ตลาดประมาณ 70-80 เรื่อง
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้เริ่มประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในช่วงประเทศเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นจุดพลิกผันของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ คือ ภาพยนตร์เรื่อง Shiri ซึ่งทุ่มทุนสร้างประมาณ 120 ล้านบาท และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก สร้างรายได้เฉพาะภายในประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากถึง 800 ล้านบาท
จากนั้นภาพยนตร์เกาหลีใต้อีกหลายเรื่องก็เดินหน้าประสบผลสำเร็จอย่างท่วมท้นเมื่อนำออกฉายภายในประเทศ เป็นต้นว่า ภาพยนตร์เรื่อง Friends ประสบความสำเร็จมากเมื่อนำออกฉายในปี 2544 โดยมีผู้ชมในเกาหลีใต้มากถึง 8.1 ล้านคน
ภาพยนตร์เรื่อง “Taegukgi : The Brotherhood of War” หรือ เท กึก กี เลือดเนื้อเพื่อฝัน วันสิ้นสงครามซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามเกาหลี ทุ่มทุนสร้างสูงถึง 560 ล้านบาท ใช้นักแสดงมากถึง 25,000 คน ประสบผลสำเร็จอย่างมาก มีผู้ชมชาวเกาหลีใต้ถึง 10 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 48 ล้านคนของเกาหลีใต้
ภาพยนตร์อินเดีย
ภาพยนตร์อินเดีย หรือ ที่รู้จักในชื่อ บอลลีวู้ด (Bollywood) (หมายถึง ฮอลลีวู้ดแห่งบอมเบย์) ในแต่ละปี อุตสาหกรรมบอลลีวู้ด ผลิตภาพยนตร์ออกสู่ตลาดมากที่สุดในโลกประมาณ 800-1,000 เรื่อง
โดยในแต่ละวัน ชาวอินเดียจะซื้อตั๋วเข้าไปหาความบันเทิงตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศราว 10 ล้านคน และจากชาวอินเดียที่กระจายอยู่ทั่วโลกอีกประมาณ 20 ล้านคน ทั้งนี้ยังมีชาวต่างชาติที่นิยมชมภาพยนตร์อินเดีย ซึ่งมีให้ชมทั้งในเอเชีย ประเทศไทย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สเปน ฟิจิ หรือแม้แต่รัสเซีย
หนังอินเดียยุคใหม่ช่วงแรกสามารถนับได้ว่าเป็นในช่วงปี ค.ศ. 1990-1995 ภาพยนตร์บอลลีวู้ดส่วนใหญ่ มักนำเสนอเรื่องราวความรักที่ต้องผ่านอุปสรรคและการเสียสละ ก่อนที่จะจบลงด้วยความสมหวังหรือผิดหวัง ในแบบที่ต้องเดาว่าตอนจบนั้นเป็นอย่างไร หรือจะเรียกว่า ไคลแม็กส์ของหนังบอลลีวู้ดในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เป็นจุดคลี่คลายเนื้อหาทั้งหมดของเรื่อง ความน่าตื่นตาตื่นใจของ หนังบอลลีวู้ดในระยะนี้ คือ การที่คนเขียนบท สามารถคลี่คลายตอนจบ ได้นับร้อยนับพันวิธี เท่าที่ผู้เขียนได้เคยดูหนังมา ยังไม่พบตอนจบของหนังเรื่องใดที่ซ้ำกันเลย ทั้งๆ ที่แนวเรื่องอาจจะคล้ายๆ กันบ้างในบางเรื่อง อาจจะเรียกว่า หากตอนจบเป็นจุดไคลแม็คส์ของหนัง เราดูแล้วประทับใจ เราก็แทบจะไม่เชื่อแล้วว่าจะมีจุดจบของหนังที่แตกต่าง หรือ ดีไปกว่านี้อีก แต่หากคุณมาดูหนังอินเดียจะพบว่า ตอนจบเขาทำออกมาได้หลากหลายมากๆ เสมือนกับการ มองไปที่แหวนเพชรในตู้โชว์ ซึ่งอาจจะดูผ่านๆ แล้วเหมือนกัน แต่พอหยิบเอามาสวมแล้วกลับมีเสน่ห์ ดึงดูดต่างๆ กันไปในแต่ละวง นั่นเอง
หนังในช่วงปี ก่อน ค.ศ. 1990 นับได้ว่าเป็นหนังอินเดียยุคเปลี่ยนผ่าน นั่นคือ เปลี่ยนจากหนังอินเดียแบบดั้งเดิม เข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งยากต่อการระบุว่า เริ่มขึ้นเมื่อใด เพราะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา เริ่มมีแนวการสร้างหนัง หลากหลายมากขึ้น คุณภาพการถ่ายทำที่หลากหลาย และผู้กำกับหน้าใหม่ก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจอาจจะกำหนดให้ละเอียดลงไปได้ว่า ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1985 -1990 นี่ล่ะคือยุคที่เริ่มมีการเปลี่ยนผ่านขึ้นมาจริงๆ โดยถือว่าปี 1985 เป็นช่วงเริ่มต้น ของดาราหน้าใหม่ประจำยุคร่วมสมัยกับพวกเรา เช่น การแสดงหนังเรื่องแรกของดาราผู้มากความสามารถอย่าง Govinda จากหนังเรื่อง Ilzaam ในปี 1986 เขาเป็นพระเอกที่แสดงได้หลากบทบาท ความสามารถสูง โดยเฉพาะหนังแนวตลก ซึ่งในขณะนั้น พระเอกอย่าง Jackie Shroff, Anil Kapoor กำลังอิ่มตัวพอดี
พอเข้าปี 1988 ดาราทองอีกคนของยุคร่วมสมัยก็กำเนิดขึ้น ซัลมาน ข่าน จากหนังเรื่องแรกของเขา Biwi Ho To Aisi จะเรียกว่า ซัลมาน ข่าน คือผลผลิตจากยุคเปลี่ยนผ่านก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันยังมีงานแสดงอย่างต่อเนื่อง
1991 หนังเรื่อง Phool Aur Kaante เปิดตัวพระเอกใหม่ อะเจย์ เดฟกัน ปี 1992 หนังเรื่อง Bekhudi เปิดตัวนางเอกที่จะมาเป็นราชินีบอลลีวู้ดในยุคเปลี่ยนผ่าน คือ คาโจล หนังเรื่อง Deewana ได้สร้าง ดาราหน้าใหม่ นาม Shah Rukh Khan ให้มาเป็น ราชา บอลลีวู้ด คนปัจจุบัน หนังเรื่อง Parampara มอบดาวทองให้กับวงการบอลลีวู้ดอีกคนคือ Saif Ali Khan ปี 1993 หนังเรื่อง Baazigar ทำให้ Shahrukh Khan ได้รางวัล Filmfare Best Actor
ปัจจุบัน ดารา ระดับคุณภาพ เช่น ศาห์รุข ข่าน, ซัลมาน ข่าน และ อาเมียร์ ข่าน
ฮอลลีวูด

ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด
โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลอะคาเดมี่อวอร์ดหรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
ประวัติ
ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูดที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่มลรัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887
ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน
ในราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด
โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงเรียนใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น ถูกเปิดให้ใช้บริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue
ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดถูกรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก
ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย
หลังจากถูกผนวกเข้ากับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อของ Prospect Avenue ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard และหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ก็เปลี่ยนไป เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue ก็กลายมาเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard ก็เปลี่ยนเป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น
ฮอลลีวูดกับอุตสาหกรรมภาพเคลื่อนไหว

Nestor Studios โรงถ่ายทำภาพยนตร์แห่งแรกของฮอลลีวูด ค.ศ. 1913
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1910 ผู้กำกับ D.W. Griffith ถูกส่งมายังชายฝั่งตะวันออกโดยบริษัทชีวประวัติของอเมริกาพร้อมด้วยนักแสดงของเขาอันประกอบไปด้วยนักแสดง Blanche Sweet, Lillian Gish, Mary Pickford, Lionel Barrymore และอื่นๆ พวกเขาได้เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ครั้งแรกในโรงถ่ายที่ว่างอยู่ ณ ใจกลางเมืองของลอสแอนเจลิส บริษัทนี้ตัดสินใจที่จะสำรวจหาดินแดนใหม่และได้เดินทางไปทางตอนเหนือเป็นระยะ 5 ไมล์จนถึงหมู่บ้านเล็กๆแห่งฮอลลีวูด ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นมิตรและสนุกสนานกับบริษัทภาพยนตร์ที่มาถ่ายทำที่นั่นอย่างมาก จากนั้น Griffith ก็ได้เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดที่มีชื่อว่า In Old California ซึ่งเป็นภาพยนตร์แนวเมโลดราม่าชีวประวัติที่เกี่ยวกับแคลิฟอร์เนียยุคลาตินเม็กซิกัน ในราวปี 1800 บริษัทภาพยนตร์แห่งนี้ได้อยู่ที่นี่เป็นเวลาร่วมเดือนและสร้างผลงานภาพยนตร์ออกมาสองสามเรื่องก่อนที่จะเดินทางกลับนิวยอร์ก หลังจากนั้น บริษัทภาพยนตร์หลายแห่งก็ได้ยินชื่อเสียงของสถานที่อันวิเศษนั้น จนในปี ค.ศ. 1913 ก็มีหลายบริษัทได้ตัดสินใจมุ่งหน้าไปทางตะวันตก และภาพยนตร์เรื่องยาว(Feature Film)เรื่องแรกที่สร้างในฮอลลิวูดคือเรื่อง "The Squaw Man" ที่กำกับโดย Cecil B. Demille โดยก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์ทั้งหมดที่ถ่ายทำในปี ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1913 ต่างก็เป็นภาพยนตร์สั้นทั้งหมด ภาพยนตร์เหล่านี้ถือว่าเป็น'จุดกำเนิด'ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งฮอลลีวูดอย่างแท้จริง
หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮอลลีวูดได้กลายมาเป็นศูนย์กลางภาพยนตร์ของโลก บริษัทที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ในฮอลลีวูดในทุกวันนี้ก็คือ William Horsley of Gower Gulch-based Nestor และ Centaur films ที่เป็นผู้สร้างห้องปฏิบัติการภาพยนตร์ของฮอลลีวูด ที่ตอนนี้มีชื่อเรียกว่า ห้องปฏิบัติการดิจิตอลแห่งฮอลลีวูด (the Hollywood Digital Laboratory)
ฮอลลีวูดสมัยใหม่

สตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ในฮอลลีวูด ค.ศ. 1922

วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1947 สถานีโทรทัศน์พาณิชย์แห่งแรกทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี คือสถานีโทรทัศน์ KTLA ได้เริ่มเปิดทำการครั้งแรกที่ฮอลลีวูด และเดือนธันวาคมของปีนั้น การถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลีวูดเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ก็ได้ดำเนินการขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า The Public Prosecutor และในราวปี ค.ศ. 1950 บรรดาสตูอิโอบันทึกเสียงเพลงและสำนักงานต่างๆก็ได้เริ่มย้ายมาอยู่ที่ฮอลลิวูด อย่างไรก็ตาม ทางด้านธุรกิจอื่นๆนั้นได้ย้ายไปยังพื้นที่อื่นของลอสแอนเจลิส โดยเริ่มต้นที่ Burbank แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากจึงยังคงอยู่ที่ฮอลลิวูด แม้ว่าบริเวณด้านนอกของเขตนี้ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ไปจากเดิมแล้ว
ในปี ค.ศ. 1952 CBS ได้สร้างเมืองโทรทัศน์ CBSในมุมหนึ่งของถนน Fairfax และ Beverly Boulevard บนพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ Gilmore Stadium การขยายพื้นที่ของ CBS ไปยังพื้นที่ถนน Fairfax นี้ได้ผลักดันให้เกิดการขยายเขตแดนของฮอลลิวูดอย่างไม่เป็นทางการไปทางด้านใต้ สโลแกนของ CBS สำหรับโชว์ต่างๆจะถูกบันทึกลงไปในเทปรายการเสมอว่า "จากเมืองโทรทัศน์แห่งฮอลลีวูด..."
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 50 Hollywood Freeway อันมีชื่อเสียงนั้นได้สร้างขึ้นจากแยก The Stack ในใจกลางเมืองลอสแอนเจลิสที่เคยเป็น Hollywood Bowl ผ่านไปยัง Cahuenga Pass เข้าสู่หุบเขาซาน เฟอร์นานโด
อาคาร Capitol Record อันโด่งดังได้สร้างขึ้นที่ถนน Vine ทางตอนเหนือของ Hollywood Boulevard ในปี ค.ศ. 1956 เป็นสตูดิโอบันทึกเสียที่ไม่ได้เปิดให้บริการสำหรับสาธารณชน แต่รูปทรงของตึกนั้นออกมาเป็นรูปวงกลมที่เป็นเอกลักษณ์ให้ดูคล้ายกับรูปฟิล์มไวนิลขนาด 7 นิ้วนั่นเอง
Hollywood Walk of Fame สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1958 และชื่อของดาราคนแรกก็ถูกจารึกขึ้นใน ค.ศ. 1960 เพื่อเป็นเกียรติยศสำหรับศิลปินที่ทำงานในวงการบันเทิง ผู้ได้รับเกียรตินี้จะได้รับดาวดวงหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพและการประสบความสำเร็จในชีวิตของเขาทั้งด้านสาขาภาพยนตร์เคลื่อนไหว, โรงละครสด, วิทยุ, โทรทัศน์ หรือเพลง ตลอดจนการกุศลและการบริจาคเพื่อสาธารณะของพวกเขา
ในปี ค.ศ. 1985 เขตการบันเทิงและพาณิชย์แห่ง Hollywood Boulevard ได้มีชื่อในรายการสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการ เพื่อการป้องกันอาคารที่สำคัญและเพิ่มความมั่นใจว่าสัญลักษณ์แห่งอดีตของฮอลลีวูดจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตเสมอ
โรงละครโกดัก

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 นั้น การขยายทางรถไฟใต้ดินสายสีแดงของลอสแอนเจลิสในเพื้นที่ฮอลลีวูดที่รอคอยมานานนั้นก็ได้เปิดให้บริการ โดยรถไฟจะวิ่งจากใจกลางนครลอสแอนเจลิสไปยังหุบเขา โดยหยุดรถที่ Hollywood Boulevard ที่ถนนตะวันตก ถนน Vine และถนน Highland
โรงละครโกดัก ที่เปิดในปี ค.ศ. 2001 นั้น ตั้งอยู่บน Hollywood Boulevard ที่ถนน Highland ในที่ที่โรงแรมฮอลลีวูดอันโด่งดังทางประวัติศาสตร์นั้นเคยตั้งอยู่ และได้กลายมาเป็นบ้านใหม่ของรางวัลออสการ์
ขณะที่การผลิตภาพยนตร์เคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นภายในเขตฮอลลีวูด แต่สตูดิโอใหญ่ๆส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งอยู่นอกพื้นที่ของลอสแอนเจลิส Paramount Studios เป็นสตูดิโอใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่ของฮอลลีวูด ส่วนสตูดิโออื่นในพื้นที่นี้นอกจากที่กล่าวไปแล้วก็ได้แก่ Jim Henson Studios (เดิมคือ Chaplin Studios) , Sunset Gower Studios และ Raleigh Studios